วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมสำรวจเเละศึกษาธรรมชาติเขาคอหงส์





ประชาคมฯ เเสง ธรรมดา เเละผองเพื่อน



ขอบคุณน้าเเสง ธรรมดาและผองเพื่อนที่นำเพลงเขาคอหงส์มามอบให้

แพทย์จาก ม.สงขลานครินทร์ มาช่วยฐานสมุนไพร


นักเรียนสนใจด้านการวาดภาพกันเยอะ


อ.สุบิน เมืองจันทร์
ก็มาช่วยเเต่งเเต้มศิลปะ

เลยต้องทำกิจกรรมกันภายในเต็นท์ แต่ยังโชคดี
ที่ หมัด ทรายเล มาช่วยเติมสีสัน

น่าเสียดายที่มีฝนตกลงมา จึงไม่ได้ออกเดินศึกษาธรรมชาติ


เช้าวันที่ ๒๘ ส.ค.๕๔ นายก อบจ.สงขลา มาเปิดกิจกรรมเเละร่วมกิจกรรม


กลางคืน ๒๗ ส.ค.๕๔ ประชุมเตรียมความพร้อม


๒๗ ส.ค.๕๔ ช่วงเย็น กำลังเตรียมสถานที่



ทำพิธีไหว้เจ้าที่เจ้าทาง




๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ กิจกรรมสำรวจเเละศึกษาธรรมชาติเขาคอหงส์



วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554








เชิญร่วมกิจกรรมสำรวจและศึกษาธรรมชาติเขาคอหงส์ วันอาทิตย์ ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔



ณ ศาลาคอกช้าง หมู่ที่ ๔ ต.ทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เวลา ๐๘๐๐ น.-๑๓.๐๐น.



กำหนดการพร้อมรายละเอียดกิจกรรมสำรวจและศึกษาธรรมชาติเขาคอหงส์
วันอาทิตย์ ที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๓.๐๐ น.
ณ ศาลาคอกช้าง บ้านพรุเตาะ หมู่ที่ ๔ ต.ทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
.............................................................................................
เวลา ๐๘.๐๐ น.- ๐๘.๓๐ น. เปิดกิจกรรม โดยนายอุทิศ ชูช่วย นายก อบจ.สงขลา
- ลงทะเบียน เปิดกิจกรรม ณ ศาลาคอกช้าง
- รับต้นไม้ ,เสื้อ ,สมุด ,ปากกา และอาหารว่าง
- ร่วมกันปลูกต้นไม้ บริเวณฝายเก็บน้ำคลองคอกช้าง และน้ำตกโตนหญ้าปล้อง
เวลา ๐๘.๓๐ น.- ๐๙.๐๐ น. ประธานฯ อธิบายรายละเอียดและขั้นตอนของกิจกรรมและชมนิทรรศการ

เวลา ๐๙.๐๐ น.- ๑๑.๓๐ น. กิจกรรมศึกษาธรรมชาติเขาคอหงส์
๑. นักเรียน ๑๒๐ คน แบ่งเป็น ๖ กลุ่ม กลุ่มละ ๒๐ คน พร้อมวิทยากรประจำกลุ่ม ๓ คน
๒. นักเรียนและวิทยากรกลุ่มแรกออกเดินทางตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง ๑.๕ กม.
โดยมีวิทยากรประจำจุดเรียนรู้ ซึ่งมีจุดเรียนรู้ ทั้งหมด ๕ จุด แต่ละจุดจะมีสื่อการเรียนรู้ เช่น สื่อของจริง และ สื่อป้ายไวนิล
จุดการเรียนรู้ประกอบด้วย
- ระบบนิเวศวิทยาและข้อมูลพื้นฐานเขาคอหงส์
- พันธุ์ไม้เขาคอหงส์
- พันธุ์สัตว์น้ำและสัตว์บกเขาคอหงส์
- พืชสมุนไพรเขาคอหงส์
- ความสำคัญของเขาคอหงส์ต่อชุมชน
๓. นักเรียนและวิทยากรกลุ่มที่ ๒ – ๕ ออกเดินทางตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ตามลำดับ
๔. ร่วมกันปลูกต้นไม้ ,ชมการเเสดงดนตรี ,วาดภาพและชมนิทรรศการฯ บริเวณน้ำตกโตนหญ้าปล้อง
เวลา ๑๒.๐๐ น.- ๑๓.๐๐ น. สรุปกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับประทานอาหารร่วมกัน

เวลา ๑๓.๐๐ น. เสร็จสิ้นกิจกรรม เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ : รายละเอียดและกิจกรรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
: นักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่พิทยาคม จำนวน ๑๐๐ คน
: นักเรียนโรงเรียนวัดพรุเตาะ จำนวน ๒๐ คน

: ภาคีเครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อมจังหวัดสงขลา

: ประชาชนทั่วไปที่สนใจ
.............................................................................
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่
- ประชาคมอนุรักษ์ป่าจังหวัดสงขลา

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

งานวันรักษ์เขาคอหงส์ ครั้งที่ 2

ประธาน ฯ กล่าวความเป็นมาของโครงการ



ซุ้มกิจกรรมต่างๆ



ซุ้มประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์



วัฒนธรรมพื้นบ้าน



วงมาแอสโตร



การแสดงของประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์












....................................................................................................................................................................



งานวันรักษ์เขาคอหงส์ ครั้งที่ ๔ อาทิตย์ที่ ๒๖ มิ.ย ๕๔ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักการศึกษาเทศบาลนครหาดใหญ่โดยความร่วมมือกับโครงการร่วมอนุรักษ์เขาคอหงส์และภาคีต่างๆ ในทุกภาคส่วนของจังหวัดสงขลาจัดกิจกรรมวันรักษ์เขาคอหงส์ ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิดต่อลมหายใจเขาคอหงส์ ขึ้นเพื่อสานต่อความร่วมมือระหว่างเทศบาลและโครงการร่วมอนุรักษ์เขาคอหงส์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้งการผสานความร่วมมือของเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อให้เป็นกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูเขาคอหงส์สำหรับคนกลุ่มต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในพื้นที่บริเวณรอบเขาคอหงส์ และเป็นการประชาสัมพันธ์ประเด็นปัญหาเขาคอหงส์ให้สังคมได้รับรู้และเรียนรู้โดยผ่านสื่อมวลชนสาขาต่างๆต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมในการร่วมอนุรักษ์เขาคอหงส์อย่างจริงจัง โดยจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์เขาคอหงส์ที่หลากหลายให้แก่ นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปผ่านสื่อและกิจกรรมรูปแบบต่างๆที่หลากหลายและสอดคล้องกับเงื่อนไขของกลุ่มเป้าหมายซึ่งจะเอื้อประโยชน์โดยตรงต่อแนวนโยบายการลดโลกร้อนการป้องกันน้ำท่วมและภัยพิบัติทางธรรมชาติของเทศบาลนครหาดใหญ่อีกด้วย


วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คอนเสิร์ตอนุรักษ์ป่า ผาดำ 4

ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาเขาคอหงส์ร่วมงานมหกรรมคอนเสิร์ตอนุรักษ์ป่าผาดำ ครั้งที4 ณ อ่างเก็บน้ำคลองจำไหร อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา



















วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประชาสัมพันธ์ปลุกจิตสำนึก

กุมภาพันธ์ ณ ตลาดกรีนเวย์ อ.หาดใหญ่
กุมภาพันธ์ ณ ม .สงขลานครินทร์ อ. หาดใหญ่


วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

นิทรรศการ "วิกฤตคลองอุ่ตะเภา ภาระเรา วาระคลอง" ครั้งที่ 2

ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์
ประชาคตมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์ และหมัด ทรายเล


เมื่อวันที่22ม.ค. 54ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำขาคอหงส์ร่วมกิจกรรม นิทรรศการ "วิกฤตคลองอุ่ตะเภา ภาระเรา วาระคลอง" ครั้งที่ 2ณ ห้างไดอาน่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ซึ่งจัดโดยเครือข่ายต้นกล้ารักษ์คลองอู่ตะเภา

กิจกรรมของนิทรรศการ เช่น การเสวนาเรื่อง วิกฤตคลองอู่ตะเภา ภาระเรา วาระคลอง ,นิทรรศการกิจกรรมของต้นกล้าคลองอู่ตะเภาและเขาคอหงส์,బ బాయ్ รักษ์คลองอู่ตะเภา ,ดนตรีจาก ทรายเลและประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

สำรวจเเละศึกษาธรรมชาติเขาคอหงส์ พ.ศ.2554

สำรวจป่า 1/2554 (ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์)



โครงการสำรวจและศึกษาธรรมชาติเขาคอหงส์ ( กำลังดำเนินการ) ชื่อแผนงาน สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเขาคอหงส์ ชื่อโครงการ โครงการสำรวจและศึกษาธรรมชาติเขาคอหงส์ หลักการและเหตุผล เนื่องจากปัจจุบันปัญหาด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบถึงการดำรงชีวิตของประชาชนทั่วโลกทั้งทางตรงและทางอ้อม ในส่วนของปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ก็อยู่ในขั้นวิกฤต เพราะฉะนั้นแนวทางการแก้ปัญหาได้แก่ การป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้ที่เหลืออยู่ และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ที่เสื่อมโทรม เพื่อที่จะส่งผลให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้แนวทางของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องระดมการมีส่วนร่วม ทั้งแรงกายแรงใจจากทุกฝ่าย ทั้งประชาชน องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ กลุ่ม/ชมรม และองค์กรต่างๆเพื่อร่วมกันระดมความคิดในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเขาคอหงส์ เขาคอหงส์เป็นป่าผืนสุดท้ายและใกล้เมืองหาดใหญ่มากที่สุด มีความสำคัญต่อชุมชนบริเวณโดยรอบและชุมชนหาดใหญ่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ซับน้ำและเป็นแหล่งต้นน้ำ เป็นแหล่งผลิตอากาศบริสุทธิ์และเป็นพื้นที่ ที่มีความหลากหลายของพันธุ์สัตว์และพันธุ์พืช ซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่ซึ่งมีคุณค่ายิ่งสำหรับการอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติของสังคม ด้วยทาง ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์ ได้มีการสำรวจศึกษาธรรมชาติพื้นที่เขาคอหงส์ ในระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา พบว่าธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตบางอย่างหายไปและบางอย่างก็ลดลง ซึ่งนั่นหมายความว่าจะต้องส่งผลกระทบถึงการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ตามลำดับต่อไปด้วย เนื่องจากระบบนิเวศทางธรรมชาติของเขาคอหงส์ ที่ยังมีคงเหลือความอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์พืชและสัตว์เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของเยาวชน เพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่ใหญ่มากนัก เพื่อที่เยาวชนจะได้สัมผัสถึงระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตในป่าไม้ที่แท้จริงรวมถึงพันธุ์ไม้ต่างๆและสมุนไพรต่างๆที่เป็นยารักษาโรค ดังนั้นการจัดโครงการสำรวจศึกษาธรรมชาติเขาคอหงส์ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยในส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเขาคอหงส์ให้คงความอุดมสมบูรณ์ได้ วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อขับเคลื่อนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเขาคอหงส์ ๒.เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ความหลากหลายทางธรรมชาติ ๓. เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ๔.เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย -ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์ ๑๐ คนและวิทยากรท้องถิ่น ๓ คน ร่วมสำรวจ และจัดทำแหล่งเรียนรู้ ๑๒ จุด เดือนละ ๑ ครั้ง เป็นเวลา ๖ เดือน - ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์ ๑๐ คนและวิทยากรท้องถิ่น ๓ คน นำนักเรียน ๓๐ คน ร่วมสำรวจและศึกษาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติเขาคอหงส์ เดือนละครั้ง เป็นเวลา ๖ เดือน (นักเรียนทั้งหมด ๑๘๐ คน) ตัวชี้วัด ๑.จำนวนผู้ร่วมสำรวจและจัดทำแหล่งเรียนรู้ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์ ๒.จำนวนนักเรียนที่ร่วมศึกษาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติเขาคอหงส์ ๓.จำนวนต้นไม้ที่ปลูก ๔.การสรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการสำรวจของนักเรียน วัน เวลา สถานที่ วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน เวลา ๐๙.๐๐ น.-๑๖,๐๐ น. สำรวจและจัดทำแหล่งเรียนรู้เขาคอหงส์ วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม เวลา ๐๙.๐๐ น.-๑๖,๐๐ น. นำนักเรียนศึกษาและสำรวจแหล่งเรียนรู้เขาคอหงส์ กิจกรรม ๑.กิจกรรมสำรวจและจัดทำแหล่งเรียนรู้ - สำรวจพันธุ์สัตว์บก พร้อมถ่ายรูป - สำรวจพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมถ่ายรูป - สำรวจพืชสมุนไพร พร้อมถ่ายรูป - สำรวจพันธุ์ไม้ใหญ่ พร้อมถ่ายรูป - สำรวจต้นน้ำ พร้อมถ่ายรูป - สำรวจจุดชมทิวทัศน์ พร้อมถ่ายรูป - นำข้อมูลจากการสำรวจมาศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - จัดทำป้ายข้อมูลของแหล่งเรียนรู้ต่างๆ - ติดตั้งป้ายแหล่งเรียนรู้ หมายเหตุ;กิจกรรมนี้จะดำเนินการตลอดระยะเวลา ๖ เดือนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ๒.กิจกรรมนำนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติเขาคอหงส์ - นำนักเรียน ๓๐ คนต่อเดือน รับต้นไม้คนละต้นไปปลูกบริเวณป่าชุมชน ต.ทุ่งใหญ่ - นำนักเรียน ๓๐ คนไปศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ ๑๒ ฐาน โดยมีประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์และวิทยากรท้องถิ่นเป็นผู้ควบคุมดูแลให้ความรู้ - ให้นักเรียนสรุปเนื้อหาของแต่ละฐาน ส่งประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์ไว้ตัดสินชิงเงินรางวัลตอนเสร็จสิ้นโครงการ หมายเหตุ;กิจกรรมนี้จะดำเนินการทุกเดือนตลอดระยะเวลา ๖ เดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม ๓.สรุปกิจกรรม ตัดสินผลงานการสรุปเนื้อหาของนักเรียนที่ได้ไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติเขาคอหงส์ และมอบเงินรางวัล ตอนสิ้นโครงการ ระยะเวลาดำเนินโครงการ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ ถึง ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ งบประมาณโครงการ - ค่าประสานงาน ๑๐,๐๐๐ บาท - ค่าทำเอกสาร ๒,๐๐๐ บาท - ค่าประชาสัมพันธ์ ๕,๐๐๐ บาท - ค่าอาหารนักเรียน (๑๘๐ คน x ๑๕๐ บาท) ๒๗,๐๐๐ บาท - ค่าเงินรางวัล (ชนะเลิศ ๓,๐๐๐ บาท รองชนะเลิศ ๒,๐๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท) ๖,๐๐๐ บาท - ค่าอาหารประชาคม ฯ (๑๐ คนx๑๒ เดือน x๑๕๐ บาท) ๑๘,๐๐๐ บาท - ค่าอาหารวิทยากร (๓ คนx ๑๒ เดือน x๑๕๐ บาท) ๕,๔๐๐ บาท - ค่าเวชภัณฑ์ ๒,๐๐๐ บาท - ค่าน้ำมันรถ ๕,๐๐๐ บาท - ค่ากล้าไม้ (๑๙๓ คนx ๒๐บาท) ๓,๘๖๐ บาท - ค่าทำป้ายแหล่งเรียนรู้ (๑๒ ฐาน x๕๐๐บาท) ๖,๐๐๐ บาท - ค่ารูปถ่าย (๑๒ ฐาน x๕๐ รูป x๕ บาท) ๓,๐๐๐ บาท - ค่าวิทยุสื่อสาร (๓ เครื่องx๗,๐๐๐ บาท) ๒๑,๐๐๐ บาท - ค่าชุดเสื้อผ้าสำรวจ (๑๐ คนx๕๐๐ บาท) ๕,๐๐๐ บาท - ค่าวิทยากรท้องถิ่น(๓ คนx๑๒ วันx๑,๐๐๐ บาท) ๓๖,๐๐๐ บาท - ค่ากล้องวีดีโอ ๑ ตัว ๒๐,๐๐๐ บาท - ค่ากล้องถ่ายรูป ๑ ตัว ๗,๐๐๐ บาท - ค่ากล้องส่องทางไกล (๓ ตัว x๕๐๐ บาท) ๑๕,๐๐๐ บาท - ค่าเข็มทิศ (๓ ตัว x๑,๐๐๐ บาท) ๓,๐๐๐ บาท - ค่าไฟฉาย (๑๕ ตัวx๒๐๐ บาท) ๓,๐๐๐ บาท - ค่าสปอร์ตไลท์ ( ๑๕ ตัว x๒๐๐ บาท) ๓,๐๐๐ บาท - ค่าเสื้อในการสำรวจนักเรียน(๑๘๐ คนx๒๐๐ บาท) ๓๖,๐๐๐ บาท - ค่าสมุด และปากกาของนักเรียน(๑๘๐ คนx๓๐ บาท) ๕,๔๐๐ บาท - ค่าเบี้ยเลี้ยงนักเรียน (๑๘๐ คนx๒๐๐ บาท) ๓๖,๐๐๐ บาท - ค่าบริการอื่นๆ ๕,๐๐๐ บาท รวม ๒๘๘,๖๖๐ บาท (ได้รับงบประมาณแค่ 150,000 บ.) แหล่งที่มาของงบประมาณ ๑.องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ๒.องค์กรภาคเอกชน ผู้รับผิดชอบโครงการ ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน - องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ - โรงเรียนต่างๆ รอบเขาคอหงส์ - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา - องค์กรภาคเอกชน ผลที่คาดว่าจะได้รับ - เยาวชนมีจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเขาคอหงส์