วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ร่วมกิจกรรมวันพ่อเเห่งชาติ






6 ธันวาคม 2553 ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติวันพ่อแห่งชาติ ณ อบต.ทุ่งใหญ่
"พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ พระราชินีเป็นป่า พระเจ้าอยู่หัวสร้างเขื่อน พระราชินีสร้างป่า เมื่อน้นเราจะร่วมกันสร้างจิตสำนึกให้คนรักษ์น้ำและป่า"หลายครั้ง เวลา กิจกรรม ที่ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์ ร่ำร้อง กู่ก้อง เพียงเพื่ออยากเห็นเยาวชนมีจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติเเละสิ่งแวดล้อม
"การพัฒนาเมื่อไม่ได้พัฒนาด้านจิตใจ จะพัฒนาด้านใดใดก็ไร้ผล
การพัฒนาจะต้องเริ่มที่จิตคน จึงเกิดผลพัฒนาที่ถาวร"

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม 7 พ.ย. 53 ทอดกฐินวัดพรุเตาะ


นางรำรุ่นเก๋า
แห่องค์กฐิน
สหายตำนาน" น่าจะเกือบห้าพันนะ"(รับส่วนบุญกันทุกคนนะ)
เอาเข้าไป ให้มันหรอยกว่าคาราโอเกะ(พร้อมกันกับรำวงคาราโอเกะ)
ครั้งนี้ไม่ต้องมีเวที เอาศาลาวัดนี่แหละ

7 พ.ย. 53 ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์ร่วมงานทอดกฐิน ณ วัดพรุเตาะ ต.ทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา(เล่นทุกปีไม่มีเบื่อ)
โดยได้สอดแทรกเรื่องราวการปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านเสียงดนตรี (ปีหน้าคิดว่าจะมีหางเครื่องพร้อมเเดนเซอร์+คณะตลกด้วย) 555

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม




วันที่ 25 ตุลาคม 2553 ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์ร่วมกิจกรรมงานชักพระของเทศบาล ต.น้ำน้อย ณ บ้านหัวนอนถนน ต.ทุ่งใหญ่
เรือพระ คือ เรือหรือรถ หรือล้อเลื่อนที่ประดิษฐ์ตกแต่งให้เป็นรูปเรือแล้ววางบุษบกซึ่งบุษบกนี้เรียกตามภาษาพื้นเมืองภาคใต้ว่า "นม" หรือ "นมพระ" ยอดบุษบก เรียกว่า "ยอดนม" สำหรับอาราธนาพระพุทธรูปประดิษฐานแล้วชักลากในวันออกพรรษา ถ้าชักลากทางน้ำเรียกว่า "เรือพระน้ำ" ซึ่งจะใช้เรือจริง ๆ มาประดิษฐ์ตกแต่ง ถ้าใช้ชักลากทางบกเรียกว่า "เรือพระบก" จะใช้รถหรือล้อเลื่อนมารประดิษฐ์ตกแต่งให้เป็นรูปเรือ การทำเรือพระบก สมัยก่อนจะทำเป็นรูปเรือให้คล้ายเรือจริงมากที่สุด และจะต้องพยายามให้มีน้ำหนักน้อยที่สุด จึงมักใช้ไม้ไผ่สานหรือเสื่อกระจูดมาตกแต่งตรงส่วนที่เป็นแคมเรือและหัวท้ายเรือคงทำให้แน่นหนา เฉพาะส่วนพื้นเพื่อนั่งและวางบุษบกกับส่วนที่จะผูกเชือกชักลากเท่านั้น แล้วใส่ล้อหรือเลื่อนที่ทำขึ้นจากไม้สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่สองท่อนรองรับข้างล่างเพื่อให้ชักลากเรือพระไปได้สะดวก ไม้สองท่อนนี้ทางด้านหัวและท้ายทำงอนคล้ายหัวและท้ายเรือแล้วตกแต่งเป็นรูปตัวพญานาค อาจทำเป็น 1 ตัว หรือมากกว่าก็ได้ ใช้กระดาษสีเงินสีทองหรือกระดาษสีสะท้อนแสงทำเป็นเกล็ดนาค ซึ่งจะทำให้สะท้อนแสงระยิบระยับไปทั้งลำเมื่อขณะชักลาก กลางลำตัวพญานาคทำเป็นร้านสูงราว 1.50 เมตร เรียกว่า "ร้านม้า" สำหรับวางส่วนสำคัญที่สุดของเรือพระ คือ บุษบก หรือ นมพระ ซึ่งนายช่างแต่ละท้องถิ่นจะมีเทคนิคในการออกแบบบุษบกเพื่อให้เหมาะสมทั้งลวดลาย และรูปร่าง มีการประดิดประดอยอย่างสุดฝีมือหลังคาบุษบกนิยมทำเป็นรูปจตุรมุข หรือทำเป็นจตุรมุขซ้อน รูปทรงชะลูด งามสง่าสะดุดตา ตกแต่งด้วยหางหงส์ ช่อฟ้า ใบระกา ตัวลำยอง กระจังฐานพระ บัวปลายเสา คันทวย เป็นต้น

กิจกรรมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม


ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์

บินหลาผงาด ทั่วนภา มองฟ้า ลาดิน

นายก อบต. ทุ่งใหญ่กล่าวเปิดงาน

เบื้องหน้าก่อนงาน

เรือพระวัดทุ่งงาย

เรือพระวัดพรุเตาะ

เรือพระสำนักสงฆ์เลียบนิกาย

ขบวบลากพระสำนักสงฆ์เลียบนิกาย



วันที่ 24 ตุลาคม 2553 ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์ร่วมงานประเพณีชักพระของ อบต. ทุ่งใหญ่

ประเพณีชักพระหรือลากพระเป็นประเพณีที่พราหมณ์ศาสนิกชนและพุทธศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ สันนิฐานว่าประเพณีนี้เกิดขึ้นครั้งแรก ในประเทศอินเดียตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ ที่นิยมนำเอาเทวรูปออกแห่แหนในโอกาสต่าง ๆ เช่น การแห่เทวรูปพระอิศวร เทวรูปพระนารายณ์ เป็นต้น
ต่อมาพุทธศาสนิกชนได้นำเอาคติความเชื่อดังกล่าวมา แล้วดัดแปลงปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา เมื่อพุทธศาสนาได้เผยแพร่ถึงภาคใต้ของประเทศไทย จึงได้นำประเพณีชักพระเข้ามาด้วย ประเพณีชักพระ มีความเป็นมาที่เล่ากันเป็นเชิงพุทธตำนานว่า หลังจากพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ปราบเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี แล้วได้เสร็จไปจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา ซึ่งขณะนั้นทรงจุติเป็นมหามายาเทพ สถิตอยู่ ณ ดุสิตเทพพิภพตลอดพรรษา พระพุทธองค์ทรงประกาศพระคุณของมารดาแก่เทวสมาคมและแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา 7 คัมภีร์ จนพระมหามายาเทพและเทพยดา ในเทวสมาคมบรรลุโสดาบันหมด ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันสุดท้ายของพรรษา พระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมนุษยโลกทางบันไดทิพย์ที่พระอินทร์นิมิตถวาย บันไดนี้ทอดจากภูเขาสิเนนุราชที่ตั้งสวรรค์ ชั้นดุสิตมายังประตูนครสังกัสสะ ประกอบด้วยบันไดทอง บันไดเงินและบันไดแก้ว บันไดทองนั้นสำหรับเทพยดามาส่งเสด็จอยู่เบื้องขวาของพระพุทธองค์ บันไดเงินสำหรับพรหมมาส่งเสด็จอยู่เบื้องซ้ายของพระพุทธองค์ และบันไดแก้วสำหรับพระพุทธองค์อยู่ตรงกลาง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงประตูนครสังกัสสะตอนเช้าตรู่ของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนที่ทราบกำหนดการเสด็จกลับของพระพุทธองค์จากพระโมคคัลลาน ได้มารอรับเสด็จอย่างเนืองแน่นพร้อมกับเตรียมภัตตาหารไปถวายด้วย แต่เนื่องจากพุทธศาสนิกชนที่มารอรับเสด็จมีเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถจะเข้าไปถวายภัตตาหารถึงพระพุทธองค์ได้ทั่วทุกคน จึงจำเป็นที่ต้องเอาภัตตาหารห่อใบไม้ส่งต่อ ๆ กันเข้าไปถวายส่วนคนที่อยู่ไกลออกไปมาก ๆ จะส่งต่อ ๆ กันก็ไม่ทันใจ จึงใช้วิธีห่อภัตตาหารด้วยใบไม้โยนไปบ้าง ปาบ้าง เข้าไปถวายเป็นที่โกลาหล โดยถือว่าเป็นการถวายที่ตั้งใจด้วยความบริสุทธิ์ด้วยแรงอธิษฐานและอภินิหารแห่งพระพุทธองค์ ภัตตาหารหล่านั้นไปตกในบาตรของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น เหตุนี้จึงเกิดประเพณี "ห่อต้ม" "ห่อปัด" ขึ้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความปิติยินดีที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชน ได้อัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้ แล้วแห่แหนกันไปยังที่ประทับของพระพุทธองค์ ครั้นเลยพุทธกาลมาแล้วและเมื่อมีพระพุทธรูปขึ้น พุทธศาสนิกชนจึงนำเอาพระพุทธรูปยกแห่แหนสมมติแทนพระพุทธองค์ ซึ่งกระทำกันในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีสืบมาจนเป็นประเพณีชักพระในปัจจุบัน อันอุปมาเสมือนหนึ่งได้ร่วมรับเสด็จและร่วมถวายภัตตาหารแด่พระพุทธองค์ด้วยตนเองไม่ว่าจะห่างไกลกันด้วยเวลา และสถานที่สักเพียงใด

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

งานแถลงข่าว ผสานความร่วมมือ 3 องค์กร เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้


เรื่อง จิ๊บๆๆ เสวนาผสานความร่วมมือระหว่าง ผาดำ , อ.นครินทร์ ชาทองและโรงเรียนพะตงฯ ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์
หมัด เเละวงทรายเล วันที่ 10 ตุลาคม 2553 ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์ร่วมกิจกรรมงานแถลงข่าว ผสานความร่วมมือ 3 องค์กร เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ ณ โรงเรียนพะตงวิทยามูลนิธิ
งานเริ่ม 13.00 น. ณ หอประชุมโรงเรียนพะตงวิทยามูลนิธิ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย บุคลากรและนักเรียนโรงเรียนพะตง ฯ ประชาคมรักษ์ป่าผาดำ ศิลปินพื้นบ้าน ฯ(หนังนครินทร์ชาทอง)
วัตถุประสงค์ก็เพื่อเเถลงข่าวถึงการบูรณาการหลักสูตรท้องท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้เข้าไปอยู่ในบทเรียนของนักเรียนโรงเรียนพะตง ฯ เพื่อเป็นการปลูกต้นไม้ในใจ
กิจกรรมในงานประกอบด้วย
1.การเเสดงโปงลาง
2.การแถลงข่าว
3.การนำเสนอวีดีทัศน์
4.กรแสดงดนตรีจากกลุ่มอนุรักษ์
เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดีและน่าจะสรรค์สร้างกิจกรรมแบบบนี้ต่อไป
"ปลูกไม้ในหัวใจ คงไม่มีใครตัดได้
ป่าไม่ที่วอดวาย เพราะไม่มีไม้ในหัวใจ"

ทอดผ้าป่าสามัคคี 80 ปี โรงเรียนวัดพรุเตาะ




วันที่ 26 กันยายน 2553 งานทอดผ้าป่าสามัคคี 80 ปี โรงเรียนวัดพรุเตาะและสังสรรค์ศิษย์เก่า

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

12 กันยายน 53 กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์ป่าชุนชนเฉลิมพระเกียรติ

ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพรุเตาะกับนักเรียน และต้นหลุมพอศักดิ์สิทธ์
สายลมโชยพัด โบกสะบัด พนาไพร...
ผืนป่านี้ยังมีนกบินหลาและหมูเถือนอาศัยอยู่...
นักเรียนโรงเรียนวัดพรุเตาะช่วยกันดูและกล้าไม้
ผอ. เเละนักเรียน ,นายก อบต. ,ประชาคมฯ
ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหส์และโรงเรียนวัดพรุเตาะร่วมกันปรับปรุงภูมิทัศน์ป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติ
...วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2553 เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมเล็กๆ ที่ ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์และโรงเรียนวัดพรุเตาะได้ร่วมกันปรับปรุงพื้นที่ป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวา ณ บ้านพรุเตาะใน ต.ทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นกิจจกรรมต่อเนื่องที่เคยได้ร่วมกันปลูกป่าไปแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 52 ที่ผ่านมา
...วัตถุประสงค์สำคัญคืออยากให้เยาวชนรักป่ารักบ้านเกิดของตนเองเพื่อต่อไปจะได้มีจิตสำนึกที่ดีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แต่ทว่าเหมือนกับว่าฟ้าบันดาลหรือไร ...
...กิจกรรมวันนี้พวกเราเจอ .ช้าง
...นั่นคงเป็นคำถามจากนักเรียนตัวเล็กๆ ว่า "ผอ.ครับ ในป่าผืนนี้มีช้างกี่เชือกครับ ?" หรือ "ช้างมาจากไหนครับ ผอ.?"
หรืออีกหลายคำถาม ซึ่งนั่นหมายความว่า คำตอบที่ ผอ. ตอบ จะต้องไม่กระทบต่อความคิดของนักเรียน หรือท่าน ผอ. จะโกหกไปว่าเป็น ช.ช้างป่า นั่นน่าจะไม่ใช่คำตอบของท่านแน่นนอน
..."โอ้คุณพระช่วย ! ใครก็ได้ช่วยตอบให้กระจ่างหน่อย" (ไม่มีใครตอบได้ นอกจากคุณส่วย และคุณคอรับชั่น)
"โอ้อยากจะบ้าตาย"
"ท่านครับ... ข้าน้อยต่ำต้อยเพียงเศษฟุ่นของธุลีดินในป่าใหญ่ มาอุ้มชูพงไพรให้ใหญ่ยิ่ง หวังสร้างฝันอันสวยงามให้กล้าน้อยได้ซึมซับสีสันความสดสวยของผืนป่า "
"ท่านครับท่าน ขอขอบพระคุณท่านมากๆ ที่นำชีวิตสัตว์ใหญ่มาเป็นตัวประกอบในนิยายน้ำเน่าของประชาคม ฯ"
"ท่านครับ นักเรียนฝากบอกว่า คราวหน้าขอความกรุณาอย่านำเลื่อยยนต์มานะครับ... หนูตกใจ"

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ก.ค 53 - ก.ย 53 กิจกรรมแสดงดนตรีปลุกจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


2 กันยายน 2553 เทศกาลอาหารสะอาดรสชาติอร่อย ณ ห้างคาร์ฟู อ.หาดใหญ่
...................................

17 สิหาคม 2553 งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
.................................



8 สิงหาคม 2553 งานวันแม่ ณ อบต. ทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่
..................................



6 สิงหาคม 2553 ตลาดน้ำคลองแห อ.หาดใหญ่
................................


14 ส.ค. 53 ห้างสรรพสินค้าไดอาน่า อ.หาดใหญ่
..............................



31 ก.ค. 53 คอนเสิร์ตสามน้ำสามเมืองร้อยเรื่องเลสาป ณ อ่างเก็บน้ำคลองจำไหร อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
..............................
แนวร่วมสนับสนุน
สามัญชน คนรักษ์ป่า
หมัด ทรายเล ร่วมกิจกรรมปลุกจิตสำนึก
24 ก.ค.53 ตลาดนัดเปิดท้ายกรีนเวย์ อ.หาดใหญ่
..........................
...อีกหนึ่งกิจกรรมในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเขาคอหงส์ได้ขับเคลื่อนการอนุรักษ์ธรมชาติและสิ่งแวดล้อมเขาคอหงส์ โดยเป็นกระบอกเสียงผ่านเครื่องดนตรีที่สามารถบรรเลงบทเพลงที่เเต่งขึ้นซึ่งเป็นการเล่าเรื่องราวสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเขาคอหงส์ในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการหางบประมาณเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมอื่นๆ ด้วย
...กิจกรรมดังกล่าวต้องประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในการขอความอนุเคราะห์ใช้พื้นที่ ดั้งนั้นต้องขอขอบคุณ ไม่ว่าจะเป็น เทศบาลนครหาดใหญ่ ห้างไดอาน่า ตลาดนัดเปิดท้ายกรีนเวย์ ตลาดน้ำคลองแห องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ และที่ขาดเสียไม่ได้คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่เป็นองค์กรที่ให้คำปรึกษามาตลอด
...และขอบคุณเพื่อนๆและมิตรสหายที่ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมในครั้งนี้
" เสียงแว่วแผ่วพริ้ว ปลิวไหว
จากภูผาสูงใหญ่ ทมึน
กู่ก้องร้องร่ำ ค่ำคืน
หยัดยืนกล้ำกลืน ลำพัง"
" ลมพริ้วปลิวพัด สำเนียง
เส้นเสียงเรียงร้อย สำนึก
ดารายังพราย แสงจ้า
เวลาราตรี เสมอ"