วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553

สำรวจป่าเขาคอหงส์ 4/2553







เก็บตก

เก็บตก

เก็บตก
เก็บตก

เก็บตก







สหายหมู่เถื่อนขอพรเจ้าที่เจ้าทาง(เจ้าบ่าวน้อย)ให้ช่วยปกปักรักษาเขาคอหงส์
บนยอดควนสูง มีร่องรอยพระมาธุดงค์
โอ้.. เย้ ! ไอ้หย่าลากะ ...พระเจ้าจอร์จ ...นี่นะหรือควนสูง

ไอ้หย่า ! หวางอีถึงยอดควนสูง

โอ๊ย ! กว่าจะถึงยอดควนสูง

จุดหมายปลายทาง ณ ควนสูง (เจ้าบ่าวน้อย)

กราบนมัสการเจ้าอาวาสวัดพรุเตาะ

สำรวจป่าเขาคอหงส์ 4/2553

วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

สำรวจป่าเขาคอหงส์ 3/2553

ต้นนี้ขอก็แล้วกัน อายุมัน เรารวมกันคงไม่ใช่
มาตรา 20 ดีไหมนี่
อีกแล้ว(ผู้นำทำเอง)
บริมาณน้ำลดลงเยอะนะ
แอ้ม...หนึ่งแกงเนื้อ สองหม้อข้าว สามแกงเลียง (หรอยจังหู้เลย)
ครุ่นคิด ชีวิต พนา พฤกษา พงไพร ป่าใหญ่ ป่าน้อย กุ้งหอย ปูปลา ณ ภูผาหญ้าปล้อง
กางเต้นท์นอน ชายป่า อาบฟ้า ห่มดาว .... เล่าเรื่องราว เดินทาง ที่พานพบ ประสบเจอ
พักก่อนนะ รุ่งราง ค่อยเดินทางต่อ
พื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์โดนลักลอบขายหน้าดิน
อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นเสม็ดชุดเเละไม้เเดง(กำลังถูกบุกรุกจากนายทุน)
อีกหนึ่งพื้นที่เขาคอหงส์ที่เรียกว่า ควนเสม็ดชุน

จากเขาคอหงส์ถึงเลสาปสงขลา
จากเขาคอหงส์ ถึงเขา ต.น้ำน้อย
เป็นถ้ำเก่าที่ขุดขึ้นเพื่อหาสายเเร่ดีบุค มีความลึกประมาณ 20 เมตร
ถ้ำหิน
ประชาคมรักษ์ป่าเขาคอหงส์
สำรวจป่าเขาคอหงส์ 3/2553

เขาคอหงส์ตั้งอยู่ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลคอหงส์และตำบลทุ่งใหญ่ มียอดสูงอยู่สองยอด ยอดที่สูงที่สุดเรียกว่าเขาคอหงส์ สูงประมาณ 371 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และยอดที่เรียกว่าเขาชุมสัก สูงประมาณ 325 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (Maxwell, 2006) ข้อมูลจากสถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่วิเคราะห์จากข้อมูลดาวเทียม Landsat 7 พ.ศ. 2549 ระบุว่ามีพื้นที่ป่าไม่ผลัดใบ 2.37 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,480.46 ไร่ และ ป่าไม่ผลัดใบเสื่อมสภาพ 1.83 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,144.01 ไร่ สำหรับพื้นที่ทั้งหมดของเขตเขาคอหงส์ที่เป็นที่สาธารณะและที่เป็นสวนยางนั้นยังไม่มีการวิเคราะห์ที่ชัดเจนเนื่องจากปัญหาของการครอบครองที่ไม่มีความชัดเจนในแง่ของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม Maxwell (2006) ระบุว่าเขาคอหงส์มีพื้นที่โดยประมาณ 13 กิโลเมตร (โดยไม่มีข้อมูลว่าใช้หลักเกณฑ์ใดในการประมาณ) สภาพพื้นที่ป่าที่สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์นั้น ยังอาจจัดจำแนกสังคมพืชในพื้นที่ทั้งสองอย่างละเอียดได้อีกเพื่อประโยชน์ในการวิจัยด้านต่าง ๆ สืบเนื่องจากการดำเนินงานทั้งสามโครงการดังกล่าว พบว่าปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณรอบเขาคอหงส์ คือ มีผู้บุกรุกเข้ามาใช้พื้นที่ปกปักฯ เพื่อตัดไม้ไปใช้ประโยชน์ ทำสวนยางพารา และล่าสัตว์ ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์ นอกจากนี้ พื้นที่ปกปักฯ นี้ไม่มีหลักเขตที่แน่นอนทางกฎหมาย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการถูกบุกรุกมากยิ่งขึ้น ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลาย รวมถึงบริการทางนิเวศวิทยาที่มีคุณค่าต่อชุมชนโดยรอบพื้นที่ การดำเนินมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ปกปักฯ ของมหาวิทยาลัยฯ จะบรรลุผลสำเร็จได้อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อชุมชนโดยรอบพื้นที่ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักต่อปัญหาสำคัญดังกล่าวร่วมกัน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาพื้นที่เขาคอหงส์อย่างต่อเนื่อง ทั้งตระหนักถึงปัญหาการสูญเสียพื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ การสร้างมาตรการเบื้องต้นในการแก้ปัญหาและการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชและป่าไม้ของชุมชน และเป็นการเริ่มต้นสร้างเครือข่ายความร่วมมือในชุมชน (ที่มาwww.rakkhohong.com)

สำรวจป่าเขาคอหงส์ 2/2553

ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์บ่อท่อโปรดคุ้มครองประชาคม ฯ และเขาคอหงส์ ...สาธุ
เก็บมาฝาก
เก็บมาฝาก
เก็บมาฝาก
เหนื่อยครับ
ไม้กฤษณาโดนเจาะเพื่อนำไปทำน้ำหอมให้คนตัวเหม็น
ไม้กฤษณาต้นใหญ่โดยเจาะใกล้จะล้ม
สภาพไม้กฤษณาโดนลักลอบเจาะ (ต้องพ่นสีไว้เป็นหลักฐาน)
ต้นไม้ที่ตัดทิ้งไว้ เผลอเมื่อไหร่โดนเผา
ความโลภทั้งนั้น
โดยบุกรุกทำสวนยางพารา(ให้พม่าตัด)
ประชาคมรักษ์ป่เขาคอหงส์
สำรวจป่าเขาคอหงส์ 2/2553
กุมภาพันธ์ 2553 เดือนแห่งความรักทั้งปวง โดยเฉพาะเรา ประชาคมรักษ์ป่าเขาคอหงส์ที่ยังคงรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ใกล้เมืองศูนย์กลางความเจริญของภาคใต้ ( แต่ขาดการเหลียวแล)
ด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจอะไรสักอย่าง เราจำเป็นต้องทำในบางเรื่องตามศักยภาพของเราที่พอทำได้ เพียงเพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงที่นับวันจะเพิ่มขึ้นทุกขณะ
การทำด้วยใจที่บริสุทธ์ ย่อมได้มาซึ่งยาชูกำลังทางใจ เพียงเเค่นี้ก็หายเหนื่อยและก็มีเเรงที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า แม้นหนทางที่เดินจะอีกแสนไกลสักเเค่ไหน แม้นหนทางข้างหน้าจะเผชิญกับขวางหนามสักเท่าใด เพียงเเค่มีกำลังใจทางที่แสนไกลก็ใกล้กว่าที่ใจคิด(ประชาคมอนุรักษ์ป่าต้นนำเขาคอหงส์)
"ข้าพเจ้าขอร้องเรื่องการตัดป่า ได้ขอร้องท่านนายกฯ ไปแล้วว่า มีกฎหมายใด มีวิธีใด ที่จะรักษาป่า เพราะว่า ไม้แต่ละต้น ถ้าเป็นพันธุ์ไม้ใหญ่จะเก็บน้ำจืดไว้จำนวนมากมาย และปล่อยออกมาเป็นลำธาร และปล่อยออกมาเป็นแม่น้ำ และอีกอย่างที่ข้าพเจ้าอยากจะขอร้องพวกท่าน เพราะข้าพเจ้าเป็นพระราชินีมาตั้งแต่อายุ 57 กว่าๆ ก่อน 18 ไม่กี่เดือน จนถึง 75 เนี่ย ยังขอร้องอะไรไม่เคยสำเร็จสักอย่าง ไม่มีะไรเลย ไอ้เรื่องต้นไม้เนี่ย เต้นอยู่ตลอด ก็ไม่มีผลสำเร็จ แอบตัน ทางการก็ไม่มีกฎหมายอะไร หรือมาตรการที่ดูแลรักษาป่า เพื่อเก็บน้ำจืดไว้ ภรรยาท่านประธานาธิบดีแห่งลาว เมื่อตอนมาเยือนประเทศไทย ก็พูดกับข้าพเจ้า บอกว่า "ทำไมคนไทยชอบตัดป่านัก ตัดป่าของตนเองเหี้ยนเตียนหมด อีกหน่อยเถอะระวังไม่มีน้ำกิน ยังก้าวร้าวเข้าไปตัดป่าเมืองลาวอีก ลาวไม่ยอมเด็ดขาด ไล่เปิดไปหมดเลย" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านสอนข้าพเจ้าอย่างนี้ บอกเนี่ยเป็นอย่างนี้ พูดเท่าไรไม่ฟังก็ต้องตายซะก่อน เห็นซะก่อนถึงจะเชื่อฟัง เพราะว่ามันก็ต้องถล่มแน่ เพราะพื้นที่มันเป็นพื้นที่สูงอย่างนี้ มันเป็นป่า เมื่อฝนแรงมากตกลงมา ดินมันก็ต้องถล่มลงมาทับตัวเอง และไม้ที่ตัวเองขึ้นไปตัวต่างๆ ก็ถล่มมากับน้ำมาทับหมดเลย ข้าพเจ้าว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริงมาทำลายหมู่บ้านต่างๆ เป็นอย่างมาก ก็ด้วยเหตุนี้ ทีนี้หน้าที่ของพวกเราก็คือว่า จะต้องกระจายข่าวไปว่า อันนี้ที่จะตายไม่ตายแหล่ ก็เรื่องที่ปล่อยให้คนที่เห็นแก่ตัวไปเที่ยวตัด ไปถล่มป่าไม้ ไม่ดูภูมิประเทศ ไม่ดูถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่คนยากคนจนที่อยู่ชายเขา ริมเขา เพราะฉันหวังจะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านว่า ตั้งต้นเสียทีเถิด" (พรราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ)