วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

สำรวจป่าเขาคอหงส์ 3/2553

ต้นนี้ขอก็แล้วกัน อายุมัน เรารวมกันคงไม่ใช่
มาตรา 20 ดีไหมนี่
อีกแล้ว(ผู้นำทำเอง)
บริมาณน้ำลดลงเยอะนะ
แอ้ม...หนึ่งแกงเนื้อ สองหม้อข้าว สามแกงเลียง (หรอยจังหู้เลย)
ครุ่นคิด ชีวิต พนา พฤกษา พงไพร ป่าใหญ่ ป่าน้อย กุ้งหอย ปูปลา ณ ภูผาหญ้าปล้อง
กางเต้นท์นอน ชายป่า อาบฟ้า ห่มดาว .... เล่าเรื่องราว เดินทาง ที่พานพบ ประสบเจอ
พักก่อนนะ รุ่งราง ค่อยเดินทางต่อ
พื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์โดนลักลอบขายหน้าดิน
อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นเสม็ดชุดเเละไม้เเดง(กำลังถูกบุกรุกจากนายทุน)
อีกหนึ่งพื้นที่เขาคอหงส์ที่เรียกว่า ควนเสม็ดชุน

จากเขาคอหงส์ถึงเลสาปสงขลา
จากเขาคอหงส์ ถึงเขา ต.น้ำน้อย
เป็นถ้ำเก่าที่ขุดขึ้นเพื่อหาสายเเร่ดีบุค มีความลึกประมาณ 20 เมตร
ถ้ำหิน
ประชาคมรักษ์ป่าเขาคอหงส์
สำรวจป่าเขาคอหงส์ 3/2553

เขาคอหงส์ตั้งอยู่ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลคอหงส์และตำบลทุ่งใหญ่ มียอดสูงอยู่สองยอด ยอดที่สูงที่สุดเรียกว่าเขาคอหงส์ สูงประมาณ 371 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และยอดที่เรียกว่าเขาชุมสัก สูงประมาณ 325 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (Maxwell, 2006) ข้อมูลจากสถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่วิเคราะห์จากข้อมูลดาวเทียม Landsat 7 พ.ศ. 2549 ระบุว่ามีพื้นที่ป่าไม่ผลัดใบ 2.37 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,480.46 ไร่ และ ป่าไม่ผลัดใบเสื่อมสภาพ 1.83 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,144.01 ไร่ สำหรับพื้นที่ทั้งหมดของเขตเขาคอหงส์ที่เป็นที่สาธารณะและที่เป็นสวนยางนั้นยังไม่มีการวิเคราะห์ที่ชัดเจนเนื่องจากปัญหาของการครอบครองที่ไม่มีความชัดเจนในแง่ของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม Maxwell (2006) ระบุว่าเขาคอหงส์มีพื้นที่โดยประมาณ 13 กิโลเมตร (โดยไม่มีข้อมูลว่าใช้หลักเกณฑ์ใดในการประมาณ) สภาพพื้นที่ป่าที่สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์นั้น ยังอาจจัดจำแนกสังคมพืชในพื้นที่ทั้งสองอย่างละเอียดได้อีกเพื่อประโยชน์ในการวิจัยด้านต่าง ๆ สืบเนื่องจากการดำเนินงานทั้งสามโครงการดังกล่าว พบว่าปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณรอบเขาคอหงส์ คือ มีผู้บุกรุกเข้ามาใช้พื้นที่ปกปักฯ เพื่อตัดไม้ไปใช้ประโยชน์ ทำสวนยางพารา และล่าสัตว์ ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์ นอกจากนี้ พื้นที่ปกปักฯ นี้ไม่มีหลักเขตที่แน่นอนทางกฎหมาย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการถูกบุกรุกมากยิ่งขึ้น ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลาย รวมถึงบริการทางนิเวศวิทยาที่มีคุณค่าต่อชุมชนโดยรอบพื้นที่ การดำเนินมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ปกปักฯ ของมหาวิทยาลัยฯ จะบรรลุผลสำเร็จได้อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อชุมชนโดยรอบพื้นที่ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักต่อปัญหาสำคัญดังกล่าวร่วมกัน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาพื้นที่เขาคอหงส์อย่างต่อเนื่อง ทั้งตระหนักถึงปัญหาการสูญเสียพื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ การสร้างมาตรการเบื้องต้นในการแก้ปัญหาและการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชและป่าไม้ของชุมชน และเป็นการเริ่มต้นสร้างเครือข่ายความร่วมมือในชุมชน (ที่มาwww.rakkhohong.com)

4 ความคิดเห็น:

  1. จงมีจิตใจที่หนักแน่น ราบเรียบ ไม่หวั่นไหวโดยง่าย จิตใจเช่นนี้จะได้มาจากการฝึกฝนเท่านั้น ไม่อาจเกิดขึ้นเองได้ บางอย่างต้องทำใจว่า ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง

    ตอบลบ